วันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2560

IoT คืออะไร Internet of Things


Internet of Things (IoT) เมื่อสรรพสิ่งอิงกับอินเทอร์เน็ต

เราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อินเทอร์เน็ตได้เข้ามา มีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก ไม่ว่า จะทำอะไร อยู่ที่ไหน ทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวเรามักเกี่ยวข้อง กับอินเทอร์เน็ตอยู่เสมอ จึงอาจเปรียบอินเทอร์เน็ตเป็น ดังสายลมที่อยู่รอบตัวเรา แล้วเราจะเตรียมรับมือกับมัน ได้อย่างไร ถ้าเรานิ่งเฉย ไม่สนใจจะใช้ประโยชน์จากมัน เราก็อาจพลาดการได้ความสะดวกสบายบางประการในชีวิตไป หน้าที่ของเราคือ ทำความเข้าใจว่าเราจะใช้อินเทอร์เน็ต อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเองและผู้อื่น 

Internet of Things

 คือ สภาพแวดล้อมที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่มีการถ่ายโอนข้อมูลร่วมกันโดยผ่านเครือข่าย จึงไม่จำเป็นต้องใช้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือระหว่างบุคคลกับคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Internet of Things ได้พัฒนา มาจากเทคโนโลยีไร้สาย (wireless technology) ระบบเครื่องกลไฟฟ้าจุลภาค (micro-electromechanical system: MEMS) และอินเทอร์เน็ต คำว่า Things ใน Internet of Things นั้น หมายถึง อุปกรณ์ที่อ้างอิงได้ด้วยเลขไอพี (IP address) และมี ความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันได้โดยผ่านเครือข่าย สรุปอย่างให้เข้าใจง่าย Internet of Things คือ เทคโนโลยี ที่ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเราได้เข้าใจนิยามของ Internet of Things ไปแล้ว เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น เรามาดูตัวอย่างอุปกรณ์ธรรมดาๆ ที่เรา ใช้กันอยู่ทุกวัน แต่เมื่อมี Internet of Things เข้ามา มันจะดูไม่ธรรมดาอีกต่อไป เช่น
- ตู้เย็นอัจฉริยะ ซึ่งมีตัวตรวจนับจำนวนสิ่งของต่างๆ ในตู้เย็นเวลาอาหารในตู้เย็นใกล้จะหมดอายุหรืออาหารใด หมด จะมีข้อความแจ้งเตือนไปยังสมาร์ตโฟนให้เราสั่งซื้อของใหม่ได้

- เครื่องซักผ้าอัจฉริยะ ที่สามารถรายงาน สถานการณ์การทำงานของเครื่องไปยังสมาร์ตโฟนได้ กรณี ที่เราใช้เครื่องซักผ้าในขณะที่เราไม่อยู่บ้าน เราสามารถตั้งค่า เครื่องซักผ้าในโหมดพิเศษว่าเมื่อเครื่องซักผ้าทำงานเสร็จแล้ว เครื่องจะปั่นผ้าเบาๆ ทุกสองนาที เพื่อให้มีอากาศไหลผ่าน เป็นการช่วยไม่ให้ผ้าอับชื้น และเมื่อเรากลับถึงบ้าน เครื่องซัก ผ้าจะตรวจจับได้ว่าเราได้กลับบ้านแล้ว และจะจบการทำงาน พร้อมแจ้งเตือน 
รูปที่ 2 เครื่องซักผ้าอัจฉริยะ 
ที่มา http://www.bornrich.com/samsung-wf457-washing -machine-wi-fi-connectivity.htm

- นาฬิกาอัจฉริยะ มีความสามารถมากกว่าที่ใช้ดู เวลาเท่านั้น เช่น ถ่ายรูป บันทึกวิดีโอ รับ-ส่งอีเมล จับเวลา นับก้าวเดิน คำนวณระยะทางและพลังงานที่ร่างกายใช้ นอกจากนี้ยังใช้เป็นรีโมตคอนโทรลของโทรทัศน์ก็ได้อีกด้วย
รูปที่ 3 นาฬิกาอัจฉริยะ
  ที่มา http://www.www.rudebaguette.com/assets/ smart-watches.jpg
นอกจากอุปกรณ์เหล่านี้ แล้วยังมีการใช้งาน อุปกรณ์ในรูปแบบอื่นๆ อีก เช่น การจอดรถในห้างสรรพสินค้า ที่มีเซ็นเซอร์ตรวจจับที่ว่างแล้วแสดงผลให้ลูกค้าทราบ ในทาง การแพทย์ใช้ในการวิเคราะห์ และตรวจสอบอาการคนไข้ โดยผ่านอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ที่บ้านของคนไข้ ผลสำรวจแนวทาง การนำ Internet of Things ไปใช้ในการสำรวจการค้นหาใน Google การแชร์ผ่าน Twitter และ Linkedin ดังรูปที่ 4 หัวข้อ ที่พบมากที่สุดคือ Smart Home หรือ ระบบบ้านอัจฉริยะ สำหรับในประเทศไทยนั้น หัวข้อที่น่าจะใกล้ชีวิตเรา มากที่สุด ก็คงจะเป็นเรื่อง Wearable ซึ่งเป็นกลุ่ม อุปกรณ์ที่ใช้สำ หรับ สวมใส่บนร่างกาย เช่น นาฬิกาอัจฉริยะ

รูปที่ 4 ผลสำรวจการประยุกต์ใช้งาน Internet of Things ที่ถูกพูด ถึงมากที่สุด
ที่มา https://iot-analytics.com/ iot-applications-q2-2015/
จะเห็นได้ว่า สมัยนี้อะไรๆ ก็เป็น Smart กันทั้งนั้น นี่เป็นผลที่ได้จากการนำ Internet of Things มาใช้กับสิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ถ้าเรานำคำว่า “Smart” มานำหน้าคำว่า “School” บ้างล่ะ ก็จะเป็น “Smart School” หรือโรงเรียนอัจฉริยะ แล้วโรงเรียนแบบนี้จะมีลักษณะพิเศษ อย่างไร สามารถนำแนวคิดของ Internet of Things ไปใช้ ในโรงเรียนได้อย่างไรบ้าง การนำ Internet of Things มาใช้ในโรงเรียน ต้องอาศัย การทำงานร่วมกันกับเทคโนโลยีคลาวด์ (cloud technology) และ อาร์เอฟไอดี (radio frequency identification:RFID) ซึ่ง จะมีประโยชน์ต่อการบริหารจัดการในโรงเรียน ซึ่งแบ่งออกได้ เป็น 3 ด้าน ดังนี้
 1. การจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองทุกสถานที่ตลอดเวลาด้วยระบบ Mobile Learning ผู้เรียนสามารถเข้าถึงบทเรียนได้โดยผ่านคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ต เพื่อศึกษาเนื้อหาและอ่านทบทวน สร้างความเข้าใจของตนเองได้ตามที่ต้องการ ในด้านการทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนมอบหมาย ระบบจะมีการบันทึกคะแนนของผู้เรียน จากการทำกิจกรรม หรือแบบฝึกหัดต่างๆ ผ่านระบบคลาวด์ ช่วยลดภาระของ ผู้สอนในการประเมินผู้เรียนและอำนวยความสะดวกในการ เตรียมเอกสารประกอบการเรียน ทั้งนี้สามารถใช้สื่อ สังคมออนไลน์มาช่วยในการอภิปรายแสดงความคิดเห็น หรือแบ่งปันข้อมูลก็ได้ด้วย ซึ่งโรงเรียนจะต้องให้ความสำคัญ เรื่องความเร็วและความปลอดภัยในการเข้าถึงระบบเครือข่าย ของโรงเรียน
รูปที่ 5 การใช้งาน Mobile Learning 
ที่มา https://www.upsidelearning.com/blog/wp-content/uploads/ 2015/02/mobile-learning-for-single-location-enterprise.jpg 
2. การดำเนินงาน ให้ติดแท็ก RFID ในอุปกรณ์และทรัพยากร หลายอย่าง เช่น เครื่องฉายภาพ (projector) จะช่วยทำให้ง่ายต่อการติดตาม ลดปัญหาการสูญหายของอุปกรณ์ ช่วยในการวางแผนจัดการ และตรวจสอบ ได้อย่างทันทีทันใด เมื่ออุปกรณ์ชิ้นใดชำรุด สามารถแจ้งซ่อมทันทีโดยผ่าน สมาร์ตโฟน นอกจากนี้ยังช่วยลดเวลาในการตรวจสอบว่านักเรียนมาเรียน หรือเข้าร่วมกิจกรรมครบหรือไม่ การติดแท็ก RFID ที่กระเป๋านักเรียน เวลานักเรียนเดินผ่านเครื่องสแกนก็จะเป็นการเช็คชื่อโดยอัตโนมัต

รูปที่ 6 นักเรียนห้อยป้ายที่มีแท็ก RFID เดินผ่านเครื่องสแกนทางเข้า-ออกหน้าโรงเรียน                        
ที่มา (บน) http://technotechservices.com/images/smart-attendance.png (ล่าง) https://i.ytimg.com/vi/L-m9DtVhKdk/maxresdefault.jpg
3. การรักษาความปลอดภัย การติดตั้งระบบ GPS (Global Positioning System) กับรถโรงเรียน จะมีการแจ้งเตือนมายังสมาร์ตโฟนของผู้ปกครอง และเมื่อรถโรงเรียน เดินทางใกล้จะถึงบ้านของนักเรียนแล้ว จะมีการแจ้งเตือนมายังสมาร์ตโฟน เพื่อให้เตรียมตัวขึ้นรถ เมื่อนักเรียนขึ้นรถแล้ว ผู้ปกครองสามารถตรวจสอบ ได้ว่าตอนนี้บุตรหลานของตนอยู่ที่ใด นอกจากนี้ยังมีการใช้ ID Card หรือ สายรัดข้อมือ ในการตรวจสอบผู้ที่เข้ามาพักในเขตโรงเรียน เพื่อป้องกัน คนแปลกปลอมเข้ามาในเขตของโรงเรียน และยังใช้แทนเงินสดสำหรับ ซื้อของในโรงเรียนก็ได้ด้วย

 รูปที่ 7 Global Positioning System กับรถโรงเรียน
ที่มา http://www.slideshare.net/isims/smart-busattendance-system-49819431 
จะเห็นได้ว่า Internet of Things มีประโยชน์ในหลายๆ ด้าน ช่วยอำนวยความสะดวก และลดขั้นตอนบางอย่าง ในชีวิตประจำวันของเรา ในอนาคตเราอาจสามารถควบคุมการทำงานของสิ่งของทุกๆ อย่างรอบตัวได้ง่ายๆ ผ่านสมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ต เรียกได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในกำมือเลยก็ว่าได้ แต่สิ่งที่เราจะมองข้ามไม่ได้เลย ก็คือความปลอดภัยในการใช้งาน ถ้ามิจฉาชีพสามารถเข้าถึงระบบควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ได้ ก็อาจสร้างความเสียหายต่อทุกคนเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราจึงต้อง เข้าใจวิธีการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างปลอดภัย สำหรับเรื่องพื้นฐานที่ควรคำนึงถึงก็คือ การตั้งรหัสผ่านให้มีความปลอดภัยสูง คาดเดายาก สามารถตรวจสอบได้ว่า รหัสผ่านที่เราใช้อยู่นั้นสามารถคาดเดาได้ง่ายหรือไม่ ผ่านเว็บไซต์ https://howsecureismypassword.net/ ถ้าพบว่ารหัสผ่านที่ใช้อยู่เป็นรหัสที่สามารถคาดเดาได้ก็คงถึงเวลาเปลี่ยน ซึ่งควรจะตั้งรหัสผ่านให้มีความยาวพอสมควร และเป็นรหัสที่สามารถจำได้ง่าย สามารถศึกษารายละเอียดการตั้งรหัสผ่านอย่างปลอดภัยได้ที่บทความเรื่อง การตั้งรหัสผ่าน ให้ปลอดภัย นอกจากนี้ ควรจะตั้งค่าความปลอดภัยของระบบด้วย เช่น การกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึง การกำหนดจำนวนครั้ง ในการใส่รหัสผิด เพียงเท่านี้เราก็สามารถนำ Internet of Things มาช่วยอำนวยความสะดวกและใช้งานในชีวิตประจำวัน ได้อย่างปลอดภัยแล้ว



บรรณานุกรม Bloom, Jonathan. (2015). Q & A: Scanning Away Food Waste?. Retrieved January 27, 2016, from http://www.wastedfood.com/2015/09/15/qa-scanning-away-food-waste/. Brown, Rich. (2016). Touchscreen refrigerators and talking everything at CES 2016. Retrieved January 26, 2016, from http://www.cnet.com/news/touchscreen-refrigerators-and-talking-everything-at-ces-2016/. How - to Greek. (2015). What is a “Smart Washer” and Do I Need One?. Retrieved January 25, 2016, from http://www.hwtogeek.com/236286/what-is-a-smart-washer-and-do-i-Need-one/. IOT Analytics. (2015). The 10 most popular Internet of Things applications right now. Retrieved January 26, 2016, from http://iot-analytics.com/10-internet-of-things-applications/. Prichard, Thor. Envisioning the Future of Mobile Learning. Retrieved January 27, 2016, from https://www.clarity-innovations.com/blog/tprichard/envisioning-future-mobile-learning. Rouse, Margaret. Internet of Things (IoT) definition. Retrieved January 25, 2016, from http://internetofthingsagenda.techtarget.com/definition/Internet-of-Things-IoT. Samsung. (2014). Gear 2. Retrieved January 26, 2016, from http://www.samsung.com/th/consumer/mobile-devices/wearables/ gear/SM-R3800VSATHO. Smart Tech Production. Student ID. Retrieved January 27, 2016, from http://smarttech.com.hk/d/student-id. Zebra Technologies. How the Internet of Things Is Transforming Education. Retrieved January 26, 2016, from http://www.zatar.com/sites/edfault/files/content/resources/Zebra_Education-Profile.pdf. พนมยงค์ แก้วประชุม. (2557). การตั้งรหัสผ่านให้ปลอดภัย. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2559, จาก http://oho.ipst.ac.th/secure-password/. ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. The Internet of Things. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2559, จาก http://its.sut.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=72&Itemid=468.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น